การประยุกต์ใช้ Google Apps เพื่อสร้างบทเรียน
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
E-Book คืออะไร?
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Book ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายหนังสือจริง สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีลักษณะพิเศษคือสามารถสื่อสารกับผู้อ่านในลักษณะของมัลติมีเดียได้ ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง แต่ยังคงรักษารูปแบบความเป็นหนังสือไว้ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หรือลักษณะการเปิดอ่าน
โปรแกรมที่ใช้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด FilpAlbum
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flip Flash Album
**ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน (Reader) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด FlipAlbum จะมีแฟ้มนามสกุล .opf ต้องใช้โปรแกรม Flip Viewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author จะมีแฟ้มนามสกุล .dml ต้องใช้โปรแกรม DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flip Flash Album จะมีแฟ้มนามสกุล .swf ต้องใช้โปรแกรม Flash Player
ความแตกต่างระหว่างหนังสือกระดาษ VS หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล
(update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก
ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
สั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน
ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อดีข้อเสียของ e-Book
ข้อดีของ e-Book
1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก
2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ
3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา
4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
6. อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย
7. ทำสำเนาได้ง่าย
8. จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
9. อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ
10. สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที
11. เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ True e-Book
ข้อเสียของ e-Book
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่
2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค
4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
6. การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น
1.1 โปรแกรมชุด FlipAlbum จะมีแฟ้มนามสกุล .opf ต้องใช้โปรแกรม Flip Viewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author จะมีแฟ้มนามสกุล .dml ต้องใช้โปรแกรม DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flip Flash Album จะมีแฟ้มนามสกุล .swf ต้องใช้โปรแกรม Flash Player
ความแตกต่างระหว่างหนังสือกระดาษ VS หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล
(update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก
ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
สั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน
ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อดีข้อเสียของ e-Book
ข้อดีของ e-Book
1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก
2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ
3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา
4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
6. อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย
7. ทำสำเนาได้ง่าย
8. จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
9. อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ
10. สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที
11. เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ True e-Book
ข้อเสียของ e-Book
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่
2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค
4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
6. การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น
วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
แฟ้มสะสมงานออนไลน์ทั้งหมด อ.อาจณรงค์
นางสาวปิยะธิดา ควรประกอบกิจ 55540168 (403)
งานชิ้นที่ 1 Resources Card
งานชิ้นที่ 2 วิเคราะห์ พรบ. การศึกษาหมวด 9
งานชิ้นที่ 4 ขอบข่ายวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
งานชิ้นที่ 1 Resources Card
งานชิ้นที่ 2 วิเคราะห์ พรบ. การศึกษาหมวด 9
งานชิ้นที่ 3 ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาสหรัฐอเมริกา
งานชิ้นที่ 5 แหล่งการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ
งานชิ้นที่ 6 การประเมินแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
งานชิ้นที่ 7 การศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (บ้านสุขาวดี)
งานชื้นที่ 8 แผนการจัดการเรียนรู้
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เเบบฝึกหัด โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
1.1.โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ตอบ การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่
ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
2.การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง ประโยชน์ของ Facebook
ตอบ เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสม
ผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการ
สื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่าง
กลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
ตอบ ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band
ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร
และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน
กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา ทั้งในระบบรายการถ่ายทอด
สด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการ
ศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
5.นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ประจวบคีรีขันธ์ ไปถึงทุก
โรงเรียนทั่วประเทศเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้ง
ประเทศ และแก้ปัญหา อาทิ เช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538
เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี นอกจากนี้ ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการ
และได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงได้สอน
เรื่องดินและฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์นี้อีกด้วย
6.ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog
ตอบ
แบบฝึกหัด สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
แบบฝึกหัด
1.สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้างตอบ มี 6 ประเภท คือ
1.สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
2.ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
3.วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM
รวมไปถึงระบบ เสียงตามสาย
4.วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศ
และส่งตามสาย
5.สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
มีการส่ง ข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการ
สื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
6.สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ
ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มาก
และรวดเร็ว
2.คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
1.กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความ
พอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
2.ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และ
เข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
3.อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ
ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
4.คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
4.1 ความหลากหลาย
4.2 ความทันสมัย
4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5.ความสะดวกในการรับ
6.การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก
3.ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
ตอบ รายการครูมืออาชีพ จากโทรทัศน์ครู รายการที่มุ่งหวังให้ครูไม่ใช่เพียงมี "อาชีพครู"
แต่เป็น "ครูมืออาชีพ ประโยชน์ที่ได้รับจากรายการนี้คือ ได้รับความรู้จากวิธีการสอนที่มีแนวคิด
แบบใหม่ๆ เทคนิคการสอนที่แตกต่างจากในห้องเรียนทั่วๆไป และเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ
ให้กับผู้ที่เป็นครูได้มีความคิดริเริ่มในการพัฒนาและบูรณาการการสอนให้ดียิ่งขึ้นไป
วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 ในวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ได้ไปเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลสื่อที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้จัดแสดงความรู้นั้น มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หุ่นจำลอง ของจริง ตู้อันตรทัศน์ กระบะทราย เป็นต้น
และความรู้ที่ได้รับอีกนั้นก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์น้ำที่จัดแสดงอยู่ภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ไม่ว่าจะเป็น ชนิดของเต่าทะเล ชนิดของปลาวาฬ ว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง ความแตกต่างของม้าน้ำตัวผู้และตัวเมีย และหอยชนิดต่างๆว่ามีกี่ชนิด รูปร่างเป็นอย่างไร
สุดท้าย ถ่ายรูปหมู่กันหน่อย เฮ้ๆๆๆๆๆๆๆ \\^^//
และความรู้ที่ได้รับอีกนั้นก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์น้ำที่จัดแสดงอยู่ภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ไม่ว่าจะเป็น ชนิดของเต่าทะเล ชนิดของปลาวาฬ ว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง ความแตกต่างของม้าน้ำตัวผู้และตัวเมีย และหอยชนิดต่างๆว่ามีกี่ชนิด รูปร่างเป็นอย่างไร
สุดท้าย ถ่ายรูปหมู่กันหน่อย เฮ้ๆๆๆๆๆๆๆ \\^^//
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)