1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 4 ประเภท คือ 1.
สื่อโสตทัศน์
2. สื่อมวลชน
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
รวมคอมพิวเตอร์
4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยากร
เช่น หอมสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ แบ่งได้ 3 ประเภท
ดังนี้
1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (
projected
aids) เช่น
1.1 สไลด์ใช้กับเครื่องฉายสไลด์
1.2 แผ่นภาพโปร่งใสกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
1.3 ฟิล์มภาพยนตร์กับเครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น
2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected aids) เช่น
รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น
3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids) เช่น
เทปเสียง แผ่นซีดี วิทยุ เป็นต้น
3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย ตอบ เอด การ์เดล ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยานำมาสร้าง เป็นกรวยประสบการณ์ (Cone of Experiencess)
ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท
ดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า
ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง เช่น
เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผักหรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
2. ประสบการณ์รอง เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด
เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง
อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้
อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน
มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป
ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้
จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี
ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด เพื่อความสะดวก
ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ เช่น สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
เป็นต้น
3. ประสบการณ์นาฏการ
เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี
ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต
สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม
ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้
เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ
เป็นต้น
4. การสาธิต เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
เช่น
การสาธิตการผายปอด
การสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น
5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง ได้แก่ สถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน
โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
6. นิทรรศการ เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ
ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
เช่น ของจริง หุ่นจำลอง
วัสดุสาธิต ภาพยนตร์ เป็นต้น
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ แต่โทรทัศน์
มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์
เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า “การถ่ายทอดสด” ในขณะที่ภาพยนตร์เป็น
การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
8. การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง
เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
9. ทัศนสัญลักษณ์
เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา เช่น แผนภูมิ ภาพโฆษณา
การ์ตูน แผนที่ เป็นต้น
10.
วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา เช่น คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นพับ
เป็นต้น
4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ การสื่อสาร
เป็นกระบวนการถ่ายทอกแลกเปลี่ยนเรื่องราว ความต้องการ ความคิดเห็น
ความรู้สึกระหว่าง
ผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อช่องทาง
5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ 1.
ผู้ส่งสาร (Source)
คือ บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสื่อสาร
ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์
ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด
2.
สาร (Message)
คือ เรื่องราวที่มีความหมายหรือสิ่งต่างๆ
ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความคิด ความต้องการ อารมณ์ฯ ซึ้งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ให้ได้รับรู้และแสดงออกมา
โดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้
3.
สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) คือ
สื่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
4.
ผู้รับ (Receiver)
คือ บุคคล กลุ่มบุคคล
หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับต่อผู้ส่งสาร
หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่นๆตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร
5. ผล (Effect) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร 6. ผลป้อนกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่ง โดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า ส่ายหน้า เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าในในความหมายที่ส่งไปหรือไม่
6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ
ตอบ เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) เสนอแบบจำลองการสื่อสารไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยอธิบายว่า การสื่อสารประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ คือ
1. ต้นแหล่งสาร (communication source)
2. ผู้เข้ารหัส (encoder)
3. สาร (message)
4. ช่องทาง (channel)
5. ผู้ถอดรหัส (decoder)
6. ผู้รับสาร (communication
receiver)
จากส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการนั้นเบอร์โลได้นำเสนอเป็นแบบจำลองการสื่อสารที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า "แบบจำลองSMCR ของเบอร์โล"(Berlo's
SMCR Model) โดยเบอร์โลได้รวมต้นแหล่งสารกับผู้เข้ารหัสไว้ในฐานะต้นแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร
และรวมผู้ถอดรหัสกับผู้รับสารไว้ในฐานะผู้รับสาร
แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลนี้ จึงประกอบไปด้วย S
(Source or Sender) คือ ผู้ส่งสาร M
(Message) คือ สาร C (Channel) คือ ช่องทางการสื่อสาร R (Receiver) คือ ผู้รับสาร ซึ่งปรากฏในภาพต่อไปนี้
7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ มีดังนี้
1. ผู้ส่งสาร
ถ้าผู้ส่งสารขาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร
แต่จำต้องพูดหรือเขียนออกไป ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นกระท่อนกระแท่น
ถ้าผู้ส่งสารขาดความสนใจในเนื้อเรื่อง หรือในประเด็นของเรื่องที่สื่อสาร
สารที่ส่งออกไปก็จะไม่น่าสนใจ และไม่สู้จะมีความหมายแก่ผู้รับสารนัก
2. สาร
ถ้าซับซ้อนเกินไป หรือห่างไกลจากประสบการณ์ของผู้รับสารมากเกินไป
หรือมีความขัดแย้งกันในตัวสารนั้น ผู้รับสารก็จะเกิดความสับสน
นอกจากนี้ถ้าตัวสารมีเนื้อความ ซ้ำๆ ประโยคเยิ่นเย้ สารนั้นเองก็จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร
เพราะผู้รับสารไม่สนใจหรืองุนงงสงสัยดังกล่าว
3.
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ถ้าผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจได้ หรือเข้าใจเพียงเลือนลาง
หรือเป็นสำนวนภาษาที่ไม่ตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร
ภาษที่ใช้นั้นก็จะกลายเป็นอุปสรรค
4. ผู้รับสาร
ถ้าผู้รับสารขาดพื้นฐานความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง
ย่อมไม่สามารถเข้าใจสารที่ส่งมาได้ หรือหากจะเข้าใจเพียงครึ่งๆ
กลางๆเท่านั้น หรือการขาดความสนใจและการมีความรู้สึกไม่ดีของผู้รับเช่นเดียวกัน
เพราะถ้าไม่สนใจและมีความรู้สึกที่ไม่ดี ย่อมไม่มีความพร้อมจะรับสาร
5. สื่อ
ถ้าสื่อในการนำสารขัดข้อง เช่น
พูดกันในสถานที่ที่มีเสียงอื้ออึงรบกวน พูดผ่านเครื่องขยายเสียงที่ปรับไม่พอเหมาะ
พูดผ่านเครื่องโทรศัพท์ที่มีความขัดข้องทางเทคนิค ก็ย่อมทำให้ผู้รับสารได้ไม่สะดวก หรืออาจรับไม่ได้เลย
6. กาลเทศะและสภาวะแวดล้อม
เวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมย่อมให้เกิดการสื่อสารที่ดี
ตรงกันข้ามเวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นอุปสรรคแก่การสื่อสาร
8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อระหว่างบุคคล
คือผู้เรียนกับผู้สอน
9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
ตอบ
10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ การสื่อสารเเบบกลุ่มใหญ่